สรุปวิจัย




✏ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ📕




ปริญญานิพนธ์

ของ

พิจิตรา  เกษประดิษฐ์





⌛ความมุ่งหมายของการวิจัย 


เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ



💬สมมติฐานของการวิจัย 


เด็กปฐมวัยที่ทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น



👀ความสําคัญของการวิจัย 


ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สําหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ เด็กปฐมวัย ในการนํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอีกวิธีหนึ่ง



📌ขอบเขตของการวิจัย 


ประชากร  

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลังศึกษา อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน  เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร  จํานวน 81 คน

กลุ่มตัวอย่าง  

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน



📐เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ จํานวน 24 กิจกรรม ผู้วิจัยสร้างขึ้นและ ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน และนําไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มี อายุ 3 – 4 ปี จํานวน 19 คน ที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่าง จากนั้น นํามาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม เพื่อนําไปใช้ในการทดลอง 

2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 3 ชุด ดังนี้   

2.1 แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกตและการจําแนก จํานวน  10  ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นที่ .76  

2.2 แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการเปรียบเทียบ จํานวน 7 ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นที่ .80   

2.3 แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู จํานวน 7 ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นที่ .82    

รวมทั้งสิ้น จํานวน 24 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น และผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ นําแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้ทําการวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับที่ .88  


📊การดําเนินการทดลอง  


1. ทําการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 

2. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ด้วยขนมอบ ซึ่งทําการทดลองในกิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  3 วัน  วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที  รวมทั้งสิ้น  24 ครั้ง

3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลอง ผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่ม ตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลองแล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนด  

4. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทําการวิเคราะห์ข้อมูล


📚การวิเคราะห์ข้อมูล 


1. คะแนนที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลอง นํามา หาค่าสถิติพื้นฐาน โดยนําข้อมูลไปหาค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) 

2. เปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ โดยใช้สถิติ  t-test  สําหรับ Dependent  Samples



🎉 สรุปผลการวิจัย 


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01





อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น